สาเหตุที่น้ำหนักไม่ลด ทั้งที่แอโรบิค ลดน้ําหนัก


คนที่ออกกำลังกายแล้วน้ำหนักไม่ลด    ส่วนมากจะเป็นคนที่ออกกำลังแบบแอโรบิกหนักๆ หลังออกเสร็จ  จะมี2ประเภท

1.ออกกำลังกายเสร็จแล้วหิวเลยกินหนักกว่าเดิมเพราะการออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะใช้แป้งในกล้ามเนื้อจนหมดและบีบบังคับร่างกายให้เอาไขมันมาใช้ 
แต่ร่างกายไม่รู้หรอกว่าคุณจะลดความอ้วนรู้แต่ว่าถ้าพลังงานสำรองหมดก็ต้องเร่งสะสมพลังงานใหม่ 
วิธีแก้หลังออกกำลังกายคือตัดวงจรความหิวด้วยนม นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต สมูตตี้สุขภาพเมล็ดธัญพืชต่างๆ ที่มีโปรตีนสูงและมีคาร์โบไฮเดรต(ถ้าให้ดีต้องกินภายใน30-60นาทีหลังออกกำลังกาย) 
อย่าไปเสียโควต้าแคลอรี่ด้วยการกินเครื่องดื่มเกลือแร่ทั้งหลาย และมื้อหลังออกกำลังกายก็กินช้าๆเพราะว่าสมองจะได้รับสัญญานจากกระเพาะว่ามีอาหารตกถึงท้อง
ใช้เวลา10นาที แต่หลังเบิร์นเราจะรู้สึกโหย บางครั้งก็กินหมดซึ่งถ้าค่อยๆกินค่อยๆเคี้ยวจานเดียวก็อิ่ม

2..ออกกำลังกายเสร็จแล้วเสียดายอุตส่าห์เผาผลาญแคลอรี่ได้จึงอดข้าวต่อเหนื่อยก็เหนื่อยโหยก็โหย ตอนอ้วนกินกันเป็นปีตอนจะลดขอลดเร็วๆ 
อดข้าวเย็นบ้างกินแต่ผักบ้างไม่นานก็ตบะแตก ไปค้นตู้เย็นตอนดึกๆ ไปกินชดเชยเอาวันรุ่งขึ้นคนที่ทนได้น้ำหนักก็ลดแต่เป็นน้ำหนักกล้ามเนื้อเพราะกินน้อยออกกำลังกายหนัก สุดท้ายระบบเผาผลาญพังเกิดภาวะโยโย่อ้วนหนักกว่าเดิม


ถ้าจะออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักสิ่งสำคัญคือการออกกำลังกายที่มีแรงต้านเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ 
ถ้าเราออกกำลังกายจนมีกล้ามเนื้อมากขึ้นแข็งแรงขึ้น แคลอรี่ที่เผาผลาญก็จะมีส่วนต่างเพิ่มขึ้นได้ถึง1000แคลอรี่ต่อวัน

คนทั่วไปเมื่อต้องการลดน้ำหนักมักมุ่งเป้าแต่การอดอาหารซึ่งสุดท้ายถ้าไม่โยโย่อ้วนขึ้นกว่าเดิมก็ผอมแบบสุขภาพแย่ๆ

หลักการกินคาร์โบไฮเดรต ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการออกกำลังกาย

เราจะแบ่งอาหารประเภทอาหารคาร์โบเฮรตแบบ GI (แบ่งตามระดับน้ำตาลในเลือด) ได้ 2 แบบ

1.Hi GI ได้แก่อาหารที่ผ่านกระบวนการต่างๆ ขัดสี ทอด อบ ผสมสารคงรูป เช่น ข้าวสวย น้ำอัดลม มันฝรั่งสุก ข้าวโพดสุก ร่างกายย่อยได้อย่างรวดเร็ว


2.Low GI อาหารส่วนประกอบของ นม ผักสด ผลไม้สด ธัญพืชต่างๆ ข้าวกล้อง โฮลวีท ร่างกายย่อยได้ช้าๆ
การกิน Hi GI ถ้าออกกำลังกายประเภทเวท วิ่ง คาร์ดิโอ้ ให้กิน หลังออกกำลังกาย เพราะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลินให้สูงขึ้น มีผลในการสังเคราะไกลโคเจนและโปรตีนได้ดีขึ้น

แต่ถ้าคุณออกกำลังกายที่ต้องใช้ความอดทนสูง เช่น คาร์ดิโอ้เข้นข้นสูงนานเป็นชั่วโมง วิ่งระยะทางหลาย10 กิโล อาหารประเภท Hi GI ไม่แนะนำให้ทานหลังออกกำลังกายทันที่ เพราะจะทำให้อินซูลินพุ่งสูงขึ้นเกิดและเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแบบที่กับคนที่เป็นเบาหวาน เป็นเหตุผลว่าคนที่ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติควรเลี่ยงอาหารประเภท HI GI ด้วย

การกิน Low GI ให้กิน ก่อนกิจกรรมออกกำลังกายหรือระหว่างกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานสูง ไม่ว่าจะเป็นเวท คาร์ดิโอ้ หรือวิ่ง ถ้ามั่นใจว่าอาหารมื้อหลักยังให้พลังงานเพียงพอต่อการออกกำลังกายก็ไม่ต้องกินก็ได้  แต่ถ้าหลังอาหารนานหลายชั่วโมงแล้ว กินเถอะ จัดขนมปังโฮสวีต กล้วย หรือนม เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้ร่างกายได้ใช้ระหว่างออกกำลังกายจะดีมากๆ


สรุป เราควรกิน LOW GI ก่อนออกกำลังกาย(เหมาะสำหรับคนลดน้ำหนักด้วย) และ HI GI หลังออกกำลังกาย (เครื่องดื่มเกลือแร่แบบผสมน้ำตาลที่ขายอยู่เป็นตัวอย่างของ HI GI)

แนะนำ SKiP คาร์โบไฮเดรต Low GI ช่วยข้ามมื้ออาหารแบบสุขภาพดี 



1.Palatinose คาร์โบไฮเดรตชนิดดีที่จัดอยู่ในกลุ่ม Low GI  
* ช่วยลดความกระหายน้ำตาลขณะที่เรางดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นเวลานาน 
*Low GI : GI ย่อมาจาก Glycaemic Index เป็นดัชนีวัดอัตราความเร็วว่าอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดเร็วแค่ไหน Low GI ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่อาหารเพื่อสุขภาพ เพราะอาหาร Low GI จะทำให้น้ำตาลถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดอย่างช้า ทำให้ตับอ่อนค่อยๆปล่อยฮอร์โมนอินซูลินออกมา ไม่ทำให้ตับอ่อนทำงานหนักเหมือนอาหาร HI GI 
2.Fibersol-2 - ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย - ช่วยลด Visceral Fat (ไขมันช่องท้อง) ที่เกาะอยู่ตามอวัยวะในร่างกาย - ช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม ลดความอยากอาหาร - ช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรีย(ดี)ในลำไส้ Bifidobacteria ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น 
3.Garcinia - ลดความอยากอาหาร - ลดการเก็บสะสมไขมัน 
4.Powerful Combination Anti-Oxydant - คืนความอ่อนเยาว์ กระจ่างใส - ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
 7 ประโยชน์ของ SKIP ที่อยู่ในซองเดียว 
1.ช่วยให้ข้ามมื้ออาหารได้นาน 
 2.เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิด Low GI ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับคงที่ 
 3.ออกกำลังได้นานขึ้น 
4.เร่งกระบวนการเผาผลาญไขมัน 
5.ลดการสะสมไขมันช่องท้อง (Visceral Fat) 
6.ควบคุมน้ำหนักแบบมีสุขภาพดี ไม่โทรม 

7.เพื่มแบคทีเรียดี ในช่องท้อง (Bifidobacteria) 



ไม่มีความคิดเห็น: