ปกติในร่างกายเราจะประกอบด้วย คือ น้ำ กระดูก เนื้อเยื่อ มวลกล้ามเนื้อ ไขมัน ฯลฯ แต่ที่เราสนใจคือ มวลของไขมันในร่างกายของเรา
การวัด%ไขมัน มีความสำคัญในการลดน้ำหนักอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น
น้องปุ่น มีส่วนสูง 162 ซม., น้ำหนัก 60 กก. ,%ไขมัน 25%
น้องติ๊ก มีส่วนสูง 162 ซม., น้ำหนัก 60 กก. ,%ไขมัน 35%
ถามว่าระหว่าง น้องปุ่น กับน้องติ๊ก ใครจะลดน้ำหนักได้เร็วกว่ากัน
แน่นอนว่า น้องปุ่นจะต้องลดน้ำหนักได้เร็วกว่าน้องติ๊ก
การวัด%ไขมัน มีความสำคัญในการลดน้ำหนักอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น
น้องปุ่น มีส่วนสูง 162 ซม., น้ำหนัก 60 กก. ,%ไขมัน 25%
น้องติ๊ก มีส่วนสูง 162 ซม., น้ำหนัก 60 กก. ,%ไขมัน 35%
ถามว่าระหว่าง น้องปุ่น กับน้องติ๊ก ใครจะลดน้ำหนักได้เร็วกว่ากัน
แน่นอนว่า น้องปุ่นจะต้องลดน้ำหนักได้เร็วกว่าน้องติ๊ก
เพราะ มวลกล้ามเนื้อสามารถเผาผลาญพลังงานได้มากว่ามวลไขมันถึง 7 เท่า
หมายความว่า น้องปุ่น ที่มีน้ำหนัก 60 กก. มีส่วนที่เป็นไขมันอยู่ 15 กก.
ส่วน น้องติ๊ก ที่มีน้ำหนัก 60 กก. เหมือนกัน มีส่วนที่เป็นไขมันอยู่ 21 กก.
ส่วน น้องติ๊ก ที่มีน้ำหนัก 60 กก. เหมือนกัน มีส่วนที่เป็นไขมันอยู่ 21 กก.
เพราะ หลังจากที่เราเข้าโปรแกรมลดน้ำหนักไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอาหาร หรือการออกกำลังกาย ในบางคน 1 อาทิตย์ผ่านไป น้ำหนักอาจจะยังไม่ลดเลย แต่สัดส่วนรู้สึกลดลงมากแล้ว
เป็นเพราะ ส่วนของมวลไขมันหายไป แต่มีการสร้างมวลกล้ามเนื้อขึ้นมาทดแทน
เปรียบเหมือน มันหมู กับเนื้อหมูล้วน ซื้อ1 กก.เท่ากัน แต่ปริมาณต่างกัน สังเกตุว่า เวลาเราซื้อหมูสามชั้น 1 กก. จะได้ปริมาณดูเยอะกว่า เนื้อหมูล้วน 1 กก. ทั้งๆที่น้ำหนักเท่ากัน
เปรียบเหมือน มันหมู กับเนื้อหมูล้วน ซื้อ1 กก.เท่ากัน แต่ปริมาณต่างกัน สังเกตุว่า เวลาเราซื้อหมูสามชั้น 1 กก. จะได้ปริมาณดูเยอะกว่า เนื้อหมูล้วน 1 กก. ทั้งๆที่น้ำหนักเท่ากัน
ปกติแล้วในการเผาผลาญไขมันประมาณ 0.5 กก. ต้องใช้พลังงานในการเผาผลาญถึง 3500 กิโลแคลอรี่
ดังนั้น การวัดเปอร์เซ็นต์ไขมัน อาทิตย์ละ1 ครั้ง ก็เป็นการวัดผลการลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี อย่าอิงกับน้ำหนักตัวในระยะสั้นมากจนเกินไป น้ำหนักตัวจะลดลงเอง เมื่อร่างกายปรับสมดุลต่างๆได้
ตามปกติแล้วสมัยนี้มีเครื่องวัดเปอร์เซ็นไขมัน ที่ติดกับเครื่องชั่งน้ำหนักมากมาย โดยใช้กระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนๆจากถ่านไฟฉายนี่แหละ ส่งผ่านเข้ามาที่ผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ามือ ฝ่าเท้า นิ้ว แล้วคำนวณจากแรงต้านไฟฟ้าบริเวณนั้นๆ รวมกับการคำนวณจากค่าส่วนสูง น้ำหนัก ออกค่าอัตโนมัติมาเป็น เปอร์เซ็นต์ไขมัน
แต่เราก็สามารถคำนวณคร่าวๆได้ด้วยตัวเอง ซึ่งก็ถือว่าแม่นยำใช้ได้
สูตรคำนวณ % ไขมัน(%Body Fat)
สำหรับผู้หญิง
Factor 1 = (น้ำหนักหน่วยปอนด์ x 0.732) + 8.987
Factor 2 = รอบข้อมือหน่วยนิ้ว/ 3.14
Factor 3 = รอบเอวบริเวณสะดือหน่วยนิ้ว x 0.157
Factor 4 = รอบสะโพกหน่วยนิ้ว x 0.249
Factor 5 = รอบต้นแขนหน่วยนิ้ว x 0.434
Factor 1 = (น้ำหนักหน่วยปอนด์ x 0.732) + 8.987
Factor 2 = รอบข้อมือหน่วยนิ้ว/ 3.14
Factor 3 = รอบเอวบริเวณสะดือหน่วยนิ้ว x 0.157
Factor 4 = รอบสะโพกหน่วยนิ้ว x 0.249
Factor 5 = รอบต้นแขนหน่วยนิ้ว x 0.434
Lean Body Mass (LBM) = F1+F2-F3-F4+F5
LBM คือ น้ำหนักส่วนต่างๆของร่างกายที่ไม่ใช่ไขมัน เช่น กระดูก เนื้อเยื่อ มวลกล้ามเนื้อ สารน้ำ ฯลฯ
LBM คือ น้ำหนักส่วนต่างๆของร่างกายที่ไม่ใช่ไขมัน เช่น กระดูก เนื้อเยื่อ มวลกล้ามเนื้อ สารน้ำ ฯลฯ
น้ำหนักไขมันในร่างกายทั้งหมด(Body Fat Weight) = น้ำหนักตัวหน่วยปอนด์ - LBM
%ไขมัน = (Body Fat Weight x 100) / น้ำหนักตัวหน่วยปอนด์
สำหรับผู้ชาย
Factor 1 = (น้ำหนักหน่วยปอนด์ x 1.082) + 94.42
Factor 2 = รอบเอวบริเวณสะดือหน่วยนิ้ว x 4.15
Lean Body Mass (LBM) = F1-F2
BFM = น้ำหนักตัวหน่วยปอนด์ - LBM
%ไขมัน = (Body Fat Weight x 100) / น้ำหนักตัวหน่วยปอนด์
ค่าปกติ%ไขมัน
สำหรับผู้หญิง 18-28%
สำหรับผู้ชาย 10-20%
(ขึ้นอยู่กับอายุด้วย ถ้าอายุน้อยๆ ควรอยู่เกณฑ์ต่ำๆ ถ้าอายุมาก % ไขมัน จะอยู่เกณฑ์สูง)
วิธีแปลงหน่วยกิโลกรัม เป็นปอนด์
(ขึ้นอยู่กับอายุด้วย ถ้าอายุน้อยๆ ควรอยู่เกณฑ์ต่ำๆ ถ้าอายุมาก % ไขมัน จะอยู่เกณฑ์สูง)
วิธีแปลงหน่วยกิโลกรัม เป็นปอนด์
1 กิโลกรัม มี ประมาณ 2.2ปอนด์
ถ้าคุณมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม จะเท่ากับ 60 x2.2 = 132 ปอนด์
ถ้าคุณมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม จะเท่ากับ 60 x2.2 = 132 ปอนด์