ภาพประกอบเท่านั้นไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ลงไว้ |
เราจะมาบอกปัจจัยอื่นๆ ให้กับคนรักสุขภาพได้ฟังกันว่า มีอะไรอีกบ้างที่คุณควรให้ความสนใจ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเอง
1. เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Body Fat Percentage)
ปริมาณไขมันในร่างกายเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวสุทธิ มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยู่เสมอในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับระดับของเหลวในร่างกาย โดยการดื่มน้ำ หรือ แอลกอฮอลล์
การมีรอบเดือน และการออกกำลังกาย
ต่างเป็นปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในร่างกายได้ ทั้งนี้
ปริมาณไขมันของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์
อาชีพ
และกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ
โดยการตรวจวัดและติดตามระดับไขมันในร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
จะช่วยให้ทราบว่ากำลังลดน้ำหนักได้ตรงจุดหรือไม่
และควรกำหนดทิศทางการออกกำลังกายและแนวทางโภชนาการอย่างไรให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
2. ระดับไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat Level)
ภาพประกอบเท่านั้นไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ลงไว้ |
ไขมันในช่องท้องเกิดจากการสะสมตัวของไขมันจากอาหารที่ร่างกายเผาผลาญเป็นพลังงานไม่หมดในแต่ละวัน พบได้บริเวณระหว่างกล้ามเนื้อท้องกับอวัยวะภายในช่องท้องที่สำคัญ โดยไขมันบริเวณดังกล่าวเป็นอันตรายกว่าไขมันในบริเวณอื่น
เนื่องจากสามารถละลายเข้าสู่กระแสเลือดไปสะสมตามอวัยวะต่างๆ
รวมถึงเกาะตามผนังหลอดเลือดจนขัดขวางการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย
และนำไปสู่โรคร้ายมากมาย
เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง
ที่สำคัญ ผู้ที่มีรูปร่างผอมเพรียวยิ่งไม่ควรชะล่าใจในสุขภาพของตน
เนื่องจากภาวะไขมันในช่องท้องไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว
แต่สามารถเกิดได้กับทั้งคนอ้วนและผอม ที่ละเลยการออกกำลังกาย
และชอบรับประทานอาหารจำพวกเบเกอรี่และของทอด
กล้ามเนื้อโครงร่าง คือกล้ามเนื้อที่ยึดติดอยู่ระหว่างกระดูกเพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกาย เนื่องจากกล้ามเนื้อมีความหนาแน่นกว่าไขมัน ทำให้ในปริมาณน้ำหนักเท่ากันกล้ามเนื้อจะมีขนาดเล็กกว่าไขมันอย่างเห็นได้ชัด
การเสริมสร้างกล้ามเนื้อจึงอาจทำให้มีน้ำหนักตัวมากขึ้น
แต่มวลกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งจะช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญพลังงาน
เพิ่มความสามารถและความทนทานของร่างกาย
และยังช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บของกระดูกและข้อต่อ
อีกทั้งยังมีผลดีต่อการลดน้ำหนักในระยะยาวอีกด้วย ดังนั้น
ผู้ที่กำลังฟิตหุ่น
ยิ่งควรตรวจวัดเปอร์เซ็นต์กล้ามเนื้อโครงร่างของตนตลอดโปรแกรมการออกกำลังกาย
เพื่อคอยติดตามพัฒนาการของร่างกายอย่างใกล้ชิด
4. อัตราการเผาผลาญพลังงานขณะอยู่เฉย (Resting Metabolism)
ทุกกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันล้วนมีการเผาผลาญแคลอรี่อยู่เสมอ ฉะนั้น ผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักจึงจำเป็นต้องรู้อัตราการเผาผลาญพลังงานขณะอยู่เฉย เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนโภชนาการและตารางการออกกำลังที่เหมาะสม โดยอัตราการเผาผลาญดังกล่าว
4. อัตราการเผาผลาญพลังงานขณะอยู่เฉย (Resting Metabolism)
ทุกกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันล้วนมีการเผาผลาญแคลอรี่อยู่เสมอ ฉะนั้น ผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักจึงจำเป็นต้องรู้อัตราการเผาผลาญพลังงานขณะอยู่เฉย เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนโภชนาการและตารางการออกกำลังที่เหมาะสม โดยอัตราการเผาผลาญดังกล่าว
จะแตกต่างกันในแต่ละบุคคลตามปัจจัยต่างๆ เช่น
อายุ น้ำหนักตัว องค์ประกอบในร่างกาย
และประเภทของกิจกรรมในช่วงเวลาที่ตรวจวัด
โดยอัตราการเผาผลาญพลังงานขณะอยู่เฉย จะสูงขึ้นตาม
เปอร์เซ็นต์กล้ามเนื้อโครงร่าง ที่เพิ่มขึ้น
ภาพประกอบเท่านั้นไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ลงไว้ |
5. อายุร่างกาย (Body Age)
อีกหนึ่งตัวเลขที่เกี่ยวโยงกับอัตราการเผาผลาญพลังงานขณะอยู่เฉย คือ อายุร่างกาย โดยใช้น้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายในการคำนวณว่าอายุร่างกายมากหรือน้อยกว่าอายุที่แท้จริงตามปีปฏิทิน การทราบอายุร่างกายจะช่วยให้เห็นภาพรวมสุขภาพเบื้องต้น
ซึ่งตัวเลขที่คำนวณได้มักจะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
การออกกำลังกาย การพักผ่อน และอารมณ์ความเครียด
หากพบว่าอายุร่างกายแก่กว่าอายุที่แท้จริง
จะช่วยกระตุ้นให้หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น