โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำนมไปหมักกับเชื้อจุลินทรีย์ จนกระทั่งแล็กโทสซึ่งเป็นน้ำตาลธรรมชาติในนม เปลี่ยนเป็นกรดแลกติก และนมเปลี่ยนสภาพจากเดิม
เป็นลักษณะข้นเหนียว เป็นลิ่มคล้ายคัสตาร์ดหรือเต้าฮวย มีเนื้อสัมผัสแบบเจล และมีรสเปรี้ยวเฉพาะตัว ถือเป็น 1 ในอาหารที่คนทั่วโลกคนทั่วโลกนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้าหรือ
ภาพประกอบเท่านั้นไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ลงไว้ |
ใช้รับประทานแทนขนมขบเคี้ยว และ มักจะเป็นปรากฏตามสื่อโฆษณาต่างๆว่า เป็นอาหารสำหรับการควบคุมน้ำหนัก เรามาดูกันว่า การรับประทานโยเกิร์ตสามารถลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ ?
โยเกิร์ต ลดน้ำหนักได้หรือไม่
มีหลายทฤษฎีระบุว่าโยเกิร์ตสามารถช่วย ‘ลดน้ำหนักได้’ เนื่องจากมีสารอาหารที่หลากหลาย
Food data Center ของ สหรัฐอเมริกา (usda) ระบุว่า โยเกิร์ต จากนมถือเป็นแหล่งแคลเซียมชั้นเยี่ยม
โยเกิร์ตโดย 1 ถ้วย (245 กรัม) สามารถให้ปริมาณแคลเซียมสูงถึง 23% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
ทั้งนี้ แคลเซียม เป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีความสำคัญต่อสุขภาพกระดูก นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงผลต่อการลดน้ำหนัก การศึกษาในหลอดทดลอง ระบุว่าระดับแคลเซียมในเลือดที่สูงขึ้นอาจลดการเติบโตของเซลล์ไขมัน ในขณะเดียวกัน การศึกษาในสัตว์ทดลองที่ได้รับการเสริมแคลเซียม เชื่อมโยงกับการลดน้ำหนักและมวลไขมันอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อมูลจาก National library of medicine ระบุว่า การศึกษาในผู้เข้าร่วมการวิจัย 4,733 คน ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการรับอาหารเสริมประเภทแคลเซียม มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเวลาผ่านไป โดยกลุ่มวิจัยดังกล่าวประกอบไปด้วย เด็ก วัยรุ่น ผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่ ผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือน และผู้ใหญ่ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) ที่แข็งแรง
แม้ว่า ผลกระทบโดยรวมของอาหารเสริมประเภทแคลเซียมต่อการลดน้ำหนัก ยังค่อนข้างน้อย แต่อย่างไรก็ตามโดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่รับประทานแคลเซียมน้ำหนักจะน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารเสริมถึง 2.2 ปอนด์ (1 กิโลกรัม)
ขณะที่การศึกษาอื่นๆ ระบุว่าอาหารหรือแคลเซียมเสริม อาจช่วยลดน้ำหนักและไขมันในเด็ก ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคอ้วน และผู้ชายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
[ลดเพิ่ม 10% โค้ด N17HV6KVJ] โยเกิร์ตพร้อมดื่ม รสพีชซากุระ และ รสสตรอว์เบอร์รีกุหลาบ เซียวจ้าน ลิซ่า Mengniu 蒙牛真果粒花果轻 |
ข้อมูลจาก National library of medicine ระบุว่า การศึกษาในผู้เข้าร่วมการวิจัย 4,733 คน ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการรับอาหารเสริมประเภทแคลเซียม มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเวลาผ่านไป โดยกลุ่มวิจัยดังกล่าวประกอบไปด้วย เด็ก วัยรุ่น ผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่ ผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือน และผู้ใหญ่ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) ที่แข็งแรง
แม้ว่า ผลกระทบโดยรวมของอาหารเสริมประเภทแคลเซียมต่อการลดน้ำหนัก ยังค่อนข้างน้อย แต่อย่างไรก็ตามโดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่รับประทานแคลเซียมน้ำหนักจะน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารเสริมถึง 2.2 ปอนด์ (1 กิโลกรัม)
ขณะที่การศึกษาอื่นๆ ระบุว่าอาหารหรือแคลเซียมเสริม อาจช่วยลดน้ำหนักและไขมันในเด็ก ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคอ้วน และผู้ชายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
ข้อมูลจาก : www.healthline.com , Food data Center (USDA), National library of medicine
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น